เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2562 ทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษยศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3 ณ อาคาร 35 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติ ของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ในครั้งนี้ เป็นการประชุมที่มีคณะผู้จัดมาจากหลากหลายหน่วยงาน สำหรับบทความที่ส่งมาเพื่อขอรับการพิจารณาทุกบทความ จะต้องผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการฝ่ายพิจารณาผลงาน และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ตรงสาขาเพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความก่อน สำหรับบทความที่มีคุณภาพระดับดีมาก มีสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติ "การเรียนรู้ด้านมนุษย์ศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์" ครั้งที่ 3 เพื่อเป็นอีกเวทีหนึ่งสำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้สู่สาธารณชนต่อไป โดยงานได้ครั้งนี้ทางผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการได้มีการเลือกนำงานวิจัยจากสาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ทั้งหมด 4 บทความ ดังนี้
1.) การจำแนกพื้นเสี่ยงไฟป่าโดยใช้สมการ Support Vector Machine ,Random Forest และ Gradient Boosting Machine คณะผู้จัดทำ : นายเจษฎา คำตะนิย์ และ นายชลนที ชาญสมิง
2.) การศึกษาศักยภาพลุ่มน้ำแก่งละว้า-ห้วยจิก จังหวัดขอนแก่น คณะผู้จัดทำ : นางสาววรรณวิษา ธาระแดน และนางสาวธัญญารัตน์ สุตะนา
3.) การวิเคราะห์ปัจจัยและการทำนายแบบจำลองการเกิดดินถล่มโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องในอำเภอด้านซ้าย จังหวัดเลย คณะผู้จัดทำ : นางสาวกาญจนา ศักดิ์ทอง นางสาวอารียา ใจซื่อ
4.) การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อตรวจสอบสุขอนามัยข้าวโดยใช้ดัชนีช่วงคลื่นที่มองเห็นได้ คณะผู้จัดทำ : นายนวธร ไชยรัตน์ นายนพัตธร เมรสนัด
งานวิจัยที่จัดทำนั้นได้รับการสนับสนุนโดยอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย อาจารย์มรกต วรชัยรุ่งเรือง และ อาจารย์ณยศ กุลพานิช ที่คอยให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ทำงานวิจัยให้มีผลของงานวิจัยออกมาอย่างถูกต้อง