การติดตามการเปลี่ยนแปลงและคาดการณ์การใช้ที่ดินโดยใช้โมเดล CA-Markov กรณีศึกษาเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล
คณะผู้จัดทำ
อ.คธาวุฒิ ไวยสุศรี
อ.ณยศ กุลพานิช
อ.มรกต วรชัยรุ่งเรือง
อ.พรเพิ่ม แซ่โง้ว
เกาะหลี่เป๊ะตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตาซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชายทะเลที่สวยงาม
ปัจจุบันการท่องเที่ยวในเกาะหลี่เป๊ะได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วเนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามริมทะเล
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างข้อมูลการใช้ที่ดินแบบหลายช่วงเวาลาในช่วงปี
พ.ศ. 2533-2557 และใช้แบบจำลอง CA-Markov
เพื่อจำลองรูปแบบการใช้ที่ดินในอดีตและเพื่อคาดการณ์รูปแบบการใช้ที่ดินในอนาคตในอีกสองทศวรรษข้างหน้า
(2028)
ผลการวิจัยพบการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการจำแนกการใช้ที่ดินในปี
2533-2560
จะเห็นได้ว่ารีสอร์ทหมู่บ้านพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่บริการเพิ่มขึ้น
0.36 ตร.กม. , 0.22 ตร.กม. , 0.06
ตร.กม.ตามลำดับขณะที่ขนาดป่าไม้และพื้นที่เพาะปลูกลดลง
0.98 ตร.กม.และ 0.22 ตร.กม. ตามลำดับ
แผนที่การใช้ที่ดินในปี พ.ศ. 2571
แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการขยายตัวของพื้นที่รีสอร์ทและหมู่บ้านไปทางตะวันตกของเกาะตามแนวหาดซันเซ็ตในขณะที่การใช้ที่ดินในภาคตะวันออกใกล้กับบริเวณหาดซันไรส์ได้เปลี่ยนไปเป็นธุรกิจท่องเที่ยวและกิจกรรมเชิงพาณิชย์