การวิเคราะห์ทางสถิติและการสำรวจระยะไกลสามารถนำมาใช้ตรวจสอบปัจจัยที่ทำให้เกิดภัยแล้งได้จริงหรือ???
โดยอำเภอห้วยกระเจา ก่อนที่จะค้นพบ น้ำแร่โซดา ได้มีการขุดเจาะน้ำบาดาลสำหรับการทำการเษตร จากหน่วยงานราชการ เนื่องจากเป็นพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากที่สุด ทำให้ทีมวิจัยสนใจในการศึกษาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นนี้
อาจารย์มรกต วรชัยรุ่งเรือง และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ได้ใช้วิธีการในการวิจัยสำหรับการทำนายการเกิดภัยแล้งด้านเกษตรกรรม
ซึ่งทำให้ผลงานวิจัยฉบับนี้ได้รับการตีพิมพ์ทางวารสารวิชาการระดับชาติ ในฐานข้อมูลวารสารระดับชาติ (TCI) วารสารสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศทางภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ในชื่อผลงาน การวิเคราะห์ปัจจัยและการทำนายการเกิดภัยแล้งด้านเกษตรกรรม กรณีศึกษา : อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
หรือสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ https://resgat.sut.ac.th/.../inde.../files/issue/view/60/331
และหากน้องๆสนใจอยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถสมัครเข้ามาเรียนกับสาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทากันเยอะๆนะคะ