สาขาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ส่งผลงานวิจัยจากนักศึกษาเพื่อเข้าแข่งขันทั้งสิ้น 7 ผลงาน ดังนี้
1.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดความเค็มบริเวณแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร -ภาคบรรยายกลุ่มภูมิศาสตร์กายภาพ โดย นางสาวชนัญญา ประเสริฐทรัพย์, นางสาวชไมพร แขกปัญญา
2.การวิเคราะห์ปัจจัยและการทำนายการเกิดภัยแล้งเชิงเกษตรกรรมด้วยแบบจำลอง โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง กรณีศึกษา : อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี -ภาคบรรยายกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางภูมิสารสนเทศ โดย นางสาววันธิยา บานเย็น, นางสาวอชิรญาณ์ เยาว์ด้วง
3.การวิเคราะห์อายุและคาดการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมันด้วยอากาศยานไร้คนขับ -ภาคบรรยายกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางภูมิสารสนเทศ โดย นายบุญญพัฒน์ วงษ์พิน
4.การตลาดทางด้านภูมิศาสตร์ของร้านค้าปลีกกับโครงข่ายถนน พื้นที่ศึกษาเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร -ภาคบรรยายกลุ่มภูมิศาสตร์มนุษย์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดย นางสาวผกามาส คงฉิม,นางสาวเกศินี ซื่อตรง
5.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุทกภัยซ้ำซาก ระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2562 บริเวณลุ่มน้ำลำเซบก จังหวัดอำนาจเจริญ และ จังหวัดอุบลราชธานี -ภาคโปสเตอร์กลุ่มภูมิศาสตร์กายภาพ โดย นางสาวไอลดา สุวรรณพันธ์
6. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดขยะมูลฝอย และการทำนายด้วยแบบจำลอง โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง พื้นที่ศึกษา : กรุงเทพมหานคร -ภาคโปสเตอร์กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางภูมิสารสนเทศ โดย นางสาวสิประภา คะศรีทอง, นางสาวอรอนงค์ ตระการจันทร์
7. วิเคราะห์ความสัมพันธ์จุดให้บริการระบบขนส่งสาธารณะกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร -ภาคโปสเตอร์กลุ่มภูมิศาสตร์มนุษย์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม โดย นางสาวหัสฐาสิริ พงศ์สุทธิคุณ, นางสาวอริศรา อุ้มเถื่อน
ได้คว้ารางวัล
การแข่งขันในงาน การประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 ในวันที่ 27-28 มกราคม 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้ส่งผลงานเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 7 ผลงาน และได้รับรางวัลทั้งสิ้น 3 รางวัลดังนี้
รางวัลชนะเลิศ -ภาคโปสเตอร์กลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางภูมิสารสนเทศ เรื่อง การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดขยะมูลฝอย และการทำนายด้วยแบบจำลอง โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง พื้นที่ศึกษา : กรุงเทพมหานคร โดยนางสาว สิประภา คะศรีทองและนางสาวอรอนงค์ ตระการจันทร์
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 -ภาคโปสเตอร์กลุ่มภูมิศาสตร์กายภาพ เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอุทกภัยซ้ำซาก ระหว่างปี พ.ศ. 2548 – 2562 บริเวณลุ่มน้ำลำเซบก จังหวัดอำนาจเจริญ และ จังหวัดอุบลราชธานี โดย นางสาวไอลดา สุวรรณพันธ์
รางวัลชมเชย -ภาคโปสเตอร์กลุ่มภูมิศาสตร์มนุษย์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เรื่อง วิเคราะห์ความสัมพันธ์จุดให้บริการระบบขนส่งสาธารณะกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เขตตลิ่งชันกรุงเทพมหานคร โดย นางสาว หัสฐาสิริ พงศ์สุทธิคุณ และนางสาว อริศรา อุ้มเถื่อน
สามารถติดตามผลงานได้จากโปสเตอร์เลยค่ะ
ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาที่ได้รับรางวัลและเป็นกำลังใจให้กับนักศึกษาที่ส่งผลงานเข้าแข่งขันในครั้งนี้ด้วยนะคะ #GEOSSRU